♥♥♥Welcome to blogger Miss Wilaiporn Chinapak ♥♥♥

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

September 30 , 255

Record times 17

Study notes

* ส่งสื่อทุกอย่าง



 วันนี้นำสื่อเข้ามุมเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์มาจัดเข้ามุมเสริมประสบการณ์ให้เด็ก
รวบรวมสื่อกลุ่ม



วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

September 23 , 2556

Record times 17

Study notes


วันนี้ทำกิจกรรมการทำ Cooking คือ แกงจืดแสนอร่อย


เพื่อนที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการทำอาหาร (สอนทำแกงจืดแสนอร่อย)

โดยมีกระบวนการสอนการทำอาหาร (ดังนี้)
1.สวัสดีค่ะเด็กๆ เด็กๆเห็นอะไรบ้างคะที่คุณครูเตรียมมาในวันนี้?
2.เด็กๆเก่งกันทุกคนเลย แล้วเด็กๆลองคิดดูซิว่าของเหล่านี้ที่คุณครูนำมาสามารถเอามาทำอะไรได้บ้าง?
3.ใช่แล้วค่ะ เก่งมากคะ เพราะวันนี้คุณครูจะพาเด็กๆทำแกงจืด ไหนใครเอ่ย ที่เคยช่วยคุณพ่อคุณแม่ทำอาหารบ้างคะ?
4.เรามาเริ่มทำอาหาร คือแกงจืดกันเลย ขั้นตอนแรกเราต้องเทน้ำใส่ลงไปในหม้อต้มก่อน เด็กๆคนไหนอยากเทน้ำใส่หม้าต้มบ้างคะ ออกมาเลยค่ะ? คุณครูขออาสาสมัครมา 1คน มาเทน้ำใส่หม้อต้ม
5.ขณะที่รอน้ำเดือนคุณครูก็นำเต้าหู้มาหั่นรอ แต่ถามเด็กๆก่อนว่าคืออะไร แล้วบอกว่าถ้าเด็กๆจะหั่นเต้าหู้เด็กๆควรให้ผู้ปกครองช่วยหั่นเพราะ มีดมีความคมสามารถเกิดอันตรายต่อเราเองได้
6.เมื่อน้ำเดือน ใส่หมูลงไป เด็กๆคนไหนอยากจะช่วยคุณครูใส่หมูลงไปในหม้อต้มบ้างคะ? เด็กๆระวังนำต้มกระเด็นใส่ด้วยนะ ถ้าเด็กไม่อยากให้น้ำกระเด็นให้เด็กๆเอาลงช้าๆเบาๆนะค่ะ
7.รอจนกว่าหมูจะสุก คุณครูก็พาเด็กๆร้องเพลง เมื่อหมูสุกคุณครูก็ถามความเปลี่ยนแปลงของหมูว่า... หมูเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นอย่างไร?
8.เมื่อหมูสุกแล้วก็ใส่ผัก "เด็กๆคนไหนอยากจะช่วยคุณครูเอาผักใส่บ้างคะ?เมื่อผักสุกก็คุณครูก็ถามความเปลี่ยนแปลงของผัก ว่า ผักที่เด็กใส่ลงไปเป็นอย่างไรบ้างคะ?"
9.การปรุงรส "เด็กๆคนไหนบ้างเอ่ยที่อยากจะปรุงรสชาดช่วยคุณครู"
10.เสร็จแล้วเราจะมาตักใส่ถ้วยนะค่ะ " เด็กๆคนไหนบ้างค่ะที่อยากจะตักแกงจืดใส่ถ้วย"

                                               ภาพการทำอาหารในวันนี้ (แกงจืด)



วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

September 16 , 2556

Record times 16

Study notes

วันนี้อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน (เบียร์) มาสอนการเขียนแผนในการทำ Cooking สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม
1.เขียนคำว่า Cookking หมายความว่าอย่างไรบ้างในความคิดของนักศึกษา

2. อาจารย์ให้ระดมความคิดกันเลือกเมนูอาหารที่นักศึกษาแต่ละกลุ่มอยากจะทำ แล้วบอกประโยชน์และข้อมูลที่เกี่ยวกับเมนูอาหารของแต่ละกลุ่ม

3.เขียนวิธีการทำเมนูอาหารของกลุ่มตนเองอย่างละเอียด เช่น วิธีทำ ,อุปกรณ์ ,วัตถุดิบ เป็นต้น

4.เขียนแผนการสอนเมนูอาหารของกลุ่มตนเอง

5.นำแผนการสอนออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน

รวมภาพนำเสนอกิจกรรมกลุ่ม



September 15 , 2556

Record times 15

Study notes

* หมายเหตุ : วันนี้เรียนชดเชย
- อาจารย์ให้ไปดูบล็อกของตัวเองว่าควรปรับแก้ไขอย่างไร
-อาจารย์ให้นำเสนอสื่อการสอนต่อจากวันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2556 
กลุ่มที่นำเสนอสื่อ มีดังนี้
กลุ่มที่ 1 ภาพ 2 มิติ
กลุ่มที่ 2 นิทานเคลื่อนที่
กลุ่มที่ 3 กล่องเล่นค้นหา (สเปกตัม)
กลุ่มที่ 4 รถลงหลุม
กลุ่มที่ 5 นิทานกระดานหก
กลุ่มที่ 6 กล่องซูโม่เคลื่อนที่
กลุ่มที่ 7 กระดานเปลี่ยนสี
กลุ่มที่ 8 การเจริญเติบโตของสัตว์แต่ละชนิด (สัตว์โลกน่ารัก)
กลุ่มที่ 9 กล่องสัมพันธ์หรรษา

นำเสนอสื่อของเล่น(มุมจัดประสบการณ์)       การทดลอง
- กระป๋องผิวปาก                                                - กาลักน้ำ
- กระดาษร้องเพลง                                             - ตะเกียบยกขวด
- กรวยลูกโปร่ง                                                   - ดอกไม้บาน
- กิ้งก่าไต่เชือก
- กระป๋องมูมเมอแรง
- ตุ๊กตาล้มลุก

ภาพการทำกิจกรรมที่นำเสนอสื่อการสอน



September 2 , 2556

Record times 14

Study notes

นำเสนอสื่อการสอน เข้ามุมวิทยาศาสตร์ และเพื่อนที่ขาดเหลือการนำเสนอสื่อต่างๆให้นำเสนอให้เสร็จ

สื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์ ( เสริมประสบการณ์ )
ทำมาจากวัสดุ  :  กล่องลัง
กลุ่มของดิฉันทำสื่อการสอน  ( กีต้าร์กล่อง)

กลุ่มที่นำเสนอ สื่อการสอนเข้ามุมวิทยาศาสตร์ 
กลุ่มที่ 1 กล่องนำแสง
กลุ่มที่ 2 การมองเห็นผ่านวัตถุโปร่งแสง โปร่งใส ทึบแสง
กลุ่มที่ 3 ไหมญี่ปุ่น (ฉากตัวการ์ตูน)
กลุ่มที่ 4 วงจรชีวิต
กลุ่มที่ 5 กีต้าร์กล่อง
กลุ่มที่ 6 เขาวงกต
กลุุ่มที่ 7 สื่อหมุนเปลี่ยนรูป
กลุ่มที่ 8 กล่องส่องแสง


                
                                        กล่องลังที่อาจร์แจกให้ ที่นำไปประดิษฐ์สื่อการสอนเข้ามุมวิทยาศาสตร์
                             
                                          กล่องที่กลุ่มดิฉัดได้ไปนั้น นำไปประดิษฐ์เป็น "กีต้าร์กล่อง"










                                 
                                  
                                                  ภาพ (กิจกรรมที่แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอสื่่อการสอน )
                                              
                                                   ภาพ (การนำเสนอสื่อการสอนในมุมวิทยาศาสตร์ )














                    
            ภาพ  (การนำเสนอสื่อ )


* หมายเหตุ   อาจารย์ชี้แจงว่าวันที่ 15 กันยายน 2556 นี้ ทำทุกอย่างให้เสร็จ ไม่ว่า จะเป็นการทดลอง  ของเล่นเข้ามุมที่เด็กสามารถทำได้เองง่ายๆ และสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์


วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

August 26 , 2556

Record times 13

Study notes


สรุปงานวิจัย

เรื่องการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ


ของ  เอราวรรณ ศรีจักร



ความมุ่งหมายของการวิจัย

                ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ดังนี้
                1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจําแนก รายทักษะ หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ 
                2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ 

ความสําคญของการวิจัย
 
               ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสําหรับเด็กปฐมวัยใช้เป็นแนวทางในการใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย และเป็นแนวทางสําหรับครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อที่เป็นแบบฝกทักษะหรือสื่ออื่นๆ แก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุด ประสงค์ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ 

ขอบเขตของการวิจัย
               ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ประชากร
               ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปีซึ่ง
กําลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร
เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานครเขตพื้นที่การศึกษา 2 
กลุ่มตัวอย่าง
              กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร
เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับ
สลากเลือกจํานวน 1 ห้องเรียน จากจํานวน 2 ห้องเรียนและผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลอง
จํานวน 15 คน

ระยะเวลาในการทดลอง
              การศึกษาครั้งนี้ ทําการทดลองในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2550 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาท

ตัวแปรที่ศึกษา
              1. ตัวแปรอิสระ
              กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
              2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ              2.1 การสังเกต
              2.2 การจําแนกประเภท
              2.3 การสื่อสาร

              2.4 การลงความเห็น


นิยามศัพท์เฉพาะ
             
              1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย - หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปีซึ่งกําลังศึกษาอยู่ระดับอนุบาลศึกษา
              2. การพัฒนา หมายถึง ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทักษากระบวน การวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งประเมินโดยแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
              3. ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวยั หมายถึง ความสามารถของเด็กปฐมวัยในการใชความคิดการค้นหาความรู้เพื่อหาคําตอบที่เป็นองค์ความรู้ได้ในการวิจัยนี้จําแนกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
             3.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวกาย เขาไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือ 
เหตุการณ์แล้วเด็กสามารถบอกลักษณะหรือความแตกต่างของสิ่งนั้นได้
             3.2 การจําแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทอย่างใดอย่างหนึ่งได้แก่ ความเหมือน ความแตกต่างและความสัมพันธ์
             3.3 การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการบอกขอความหรือเล่าให้ฟังถึงสิ่งที่ค้นพบจากการสังเกต การทดลองเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง
             3.4 การลงความเห็น หมายถึง ความสามารถในการอธิบายหรือสรุปความเห็นสิ่งที่ค้นพบหรืออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหรือที่ได้จากประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับการใช้เหตุผล
             4. กิจกรรมการเรียนรู้หมายถึงงานการเรียนสําหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อให้เด็กได้ปฏิบัติการการเรียนรู้โดยจัดลําดับสาระตามชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ของ รศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ ที่นํามาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้เด็กได้ลงมือกระทําได้รับประโยชน์จริง ดังนี้


              ขั้นนํา เป็นขั้นการเตรียมเด็กเข้าสู่กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วยกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเรื่องที่จะเรียน 
             ขั้นสอน แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 จัดกิจกรรมให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน และตอนที่ 2 ทําชุดแบบฝึกทักษะตามมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน
             ขั้นสรุป เด็กร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่เด็กได้รับจากการเรียนเรื่องนั้นๆ
             5. ชุดแบบฝึกทักษะ หมายถึง แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยเน้นการใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ (Brain - Based Learning) สําหรับเด็กปฐมวัยที่ออกแบบโดย ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ 
จํานวน 4 เรื่อง คือ การสังเกต พืช สัตว์และโลกของเรา


สรุปผลการศึกษาค้นคว้า

             1. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวม หลังการใช้กิจกรรม

การเรียนรประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมากและจําแนกรายทักษะอยู่ในระดับดีมาก 3 ทักษะ 
คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเหน็ และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือ 


ทักษะการจําแนกประเภท

            2. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้
ประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมี
นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 



















August 19 , 2556

Record times 12

Study notes

นำเสนอการทดลอง(งานกลุ่ม) การทดลองกลุ่มของดิฉัน " เทียนไขดูดน้ำ "
สมาชิกกลุ่ม  ดังนี้
1.นางสาวฑิฆัมพร สุดาเดช 5411201352
2.นางสาวเบญจวรรณ นนตะพันธ์ 5411201469
3.นางสาววิไลพร ชินภักดิ์ 5411201667



อุปกรณ์การทดลอง
1.เทียนไข                            2.จาน/ถาด           3.ขวดแก้วหรือแก้วที่มีความสูงกว่าเทียน
4.ไม้ขีดไฟหรือไฟแช็ก          5.สีผสมอาหารเพื่อให้เห็นผลการทดลองได้ชัดเจนขึ้น

วิธีการทดลอง

1.ให้หยดสีผสมอาหารลงในน้ำที่เตรียมไว้
2.ให้เทน้ำที่ผสมสีไว้แล้วลงในจานที่เตรียมไว้
3.นำเทียนไปวางบริเวณกึ่งกลางของจานแล้วจุดไฟ
4.นำแก้วครอบเทียนไว้ รอสักครู่ไฟจะดับสังเกตว่าน้ำที่อยู่รอบๆแก้วจะค่อยๆ ไหลเข้ามาอยู่ในแก้ว

สรุปผลการทดลอง
     สาเหตุที่น้ำด้านภายนอกสามารถเข้าไปอยู่ภายในแก้วได้ก็เพราะเมื่อออกซิเจนที่มีภายในแก้วถูกใช้ในการเผาไหม้จนหมด(เทียนดับ) จึงทำให้ความดันอากาศภายในแก้วมีน้อยกว่าภายนอกแก้ว   ความดันอากาศภายนอกจึงดันให้น้ำนอกแก้วไหลเข้าไปในแก้วที่มีความดันอากาศน้อยกว่านั้นเอง

ภาพการทำการทดลอง