♥♥♥Welcome to blogger Miss Wilaiporn Chinapak ♥♥♥

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

June 24, 2556

Record times 2

Study notes



                                                                     ดู VDO เกี่ยวกับน้ำ

Concluded (self).


1. ร่างกายของมนุษย์มีความรู้สึก นึกคิด สมองของมนุษย์จึงเกิดการเรียนรู้ที่มีประสาทเชื่อมต่อกับเซลล์ต่างๆใยประสาทมีทั้งเกิดการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถและคุณลักษณะของแต่ละบุคคลตามช่วงวัยของเด็ก

2. วิทยาศาสตร์ในระดับอนุบาลมีจุดมุ่งหมาย เพื่อสืบค้นวิธีการในการสอนไปพร้อม กับการช่วยให้เด็กเข้าใจพื้นฐานของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิธีการตรวจสอบความรู้ที่ถูกต้อง โดยมีการจัดการเรียนการสอนที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง พยายามเปิดโอกาสให้เ็ด็กได้มีปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้างตัวเด็กสร้างเสริมประสบการณ์สนับสนุนให้เด็กเข้าไปมีส่วนร่วมและมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก

3. ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทำให้คนได้มีพัฒนาวิธีคิด มีความคิดเป็นเหตุเป็นผล มีความคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีการแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ สามารถตัดสินใจ และนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุมีผล4. แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ นักทฤษฎีชื่อ เกรก ให้แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ ที่เรียกว่า Graig's Basic Conceps มีลักษณะรวมๆที่สำคัญ 5 ประการ

1. การเปลี่ยนแปลง (Transition) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ควรที่จะให้เด็กแลเห็นและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง
2. ความแตกต่าง (Distinction) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะมีความคล้ายคลึงกันแต่จะไม่เหมือนกัน โดยให้เด็กสังเกตสิ่งต่างๆรอบๆตัวเด็ก
3. การปรับตัว (Adaptation) ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีการปรับตัวเข้าหากันกับสิ่งที่อยู่รอบๆตัว

4. การพึ่งพาอาศัยกัน (Dependence) ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันอย่างเช่น คนกับเงิน นกเอี้ยกกับควาย เป็นต้น

5. ความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกจะต้องต่อสู่เพื่อรักษาชีวิตและปรับตัวให้เข้ากับสังคมให้สมดุลกับชีวิต
5. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิต
วิทยาศาสตร์ (Scientific) หมายถึง การค้นคว้าหาความรู้อย่างดีมีระบบ


ผลผลิต (Product) หมายถึง สิ่งที่ปรากฎขึ้นภายหลังจากที่ทำการทดลองหรือการศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

กิจกรรมวทยาศาสตร์นั้นกระบวนการและผลผลิต จะต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ครููจะต้องเตรียมกิจกรรมให้กับเด็ก กระบวนการในการทำควรเสนอแนะวิธีการใดๆทั้งสิ้น โดยให้แลกเปลี่ยนกระบวนการและผลผลิต

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific process.)
เน้นที่กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิตที่เด็กทำการทดลอง


6. พัฒนาการทางสติปัญญา (Scientific developments)

พัฒนาการเกิดขึ้นจากการมีการปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาและตลอดทั้งชีวิตทั้งนี้ก่อให้เกิดความสมดุล
กระบวนการปฎิสัมพันธ์ ( interaction) ประกอบด้วย 2 กระบวนการ
1. กระบวนการดูดซึม (Process Assimilate ) มนุษย์มีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะซึมซาบหรือซึมประสบการณ์ใหม่รวมเข้าอยู่ในโครงสร้างของสติปัญญา
 
2. กระบวนการปรับโครงสร้าง (Restructuring process) การเปลี่ยนแปลงแบบโครงสร้างของเชาว์ปัญญาที่มีอยู่แล้วให้กับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่
การปรับตัวเข้าสู้สภาวะสมดุลย์ระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม การดูดซึมก็เป็นประสบการณ์ใหม่กับโครงสร้างความคิด

June 17, 2556


Record times 1


Study notes

วิทยาศาสตร์


พัฒนาการ

มาตรฐาน


องค์ประกอบของการสร้างบล็อก