♥♥♥Welcome to blogger Miss Wilaiporn Chinapak ♥♥♥

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

July 8, 2556


Record times 4

Study notes

อากาศ













            ต่อจากการดู VDO เรื่องอากาศเสร็จ อาจารย์ก็ให้นำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ที่เด็กสามารถทำได้เอง ได้นำเสนอ กล้องโทรทรรศน์



ความหมายและหลักการเกิดภาพเคลื่อนไหว

0

 



ความหมายของภาพยนตร์

คำว่า “ภาพยนตร์” มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษอยู่หลายคำ เช่น Motion Picture , Cinema , Film และ Movie เป็นต้น
ซึ่งมีผู้รู้ไ้ด้ให้คำนิยามของภาพยนตร์ไว้ดังนี้

ภาพยนตร์ เป็น กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม (Film) แล้วนำออกฉายถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ในลักษณะภาพเคลื่อนไหว (Motion Pictures) ซึ่งภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์เป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมากที่มีอิริยาบถหรือ การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยเรียงต่อเนื่องกันตามเรื่องราวที่ถ่ายทำ และตัดต่อมา เนื้อหาของภาพยนตร์อาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรือเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการณ์ของผู้สร้าง เพื่อให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วมไปกับภาพยนตร์ในขณะที่รับชม
2. หลักการเกิดภาพเคลื่อนไหว

การที่เราเห็นภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพที่ฉายต่อเนื่องกัน ดูเป็นลักษณะภาพเคลื่อนไหวได้นั้น สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการเห็นภาพติดตา (Persistence of Vision) อันเป็นหัวใจของหลักการสร้างภาพยนตร์เพราะภาพยนตร์ก็คือภาพนิ่งแต่ละภาพที่ ต่อเนื่องกันอย่างมีระบบนั่นเอง ซึ่งมีที่มาตั้งแต่ของเล่นที่ชื่อว่า ภาพหมุน ( Thaumatrope )


ภาพหมุน ( Thaumatrope )
Thaumatrope (อ่านว่า ธัมมาโทรป) เป็นของเล่นที่ประดิษฐ์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2368 (ค.ศ. 1825) โดย ดร.วิเลี่ยม เฮนรี่ ฟิตตอน (Dr. William Henry Fitton) ซึ่งได้แนวคิดมาจากเซอร์จอห์น เฮอร์เซล ผู้ที่สังเกตว่าสายตามนุษย์สามารถมองเห็นภาพทั้งสองด้านของเหรียญที่หมุน อยู่ได้พร้อมกัน




ดร.วิเลี่ยม เฮนรี่ ฟิตตอน (Dr. William Henry Fitton)

(http://www.ireference.ca/search/William%20Henry%20Fitton/)



ภาพหมุน ( Thaumatrope )

(http://littleworm55.blogspot.com/)

Thaumatrope ทำจากกระดาษแข็งตัดเป็นวงกลม โดยมีรูปภาพหรือภาพวาดทั้งสองด้าน เช่น ถ้าวาดภาพด้านหนึ่งเป็นกรงนก ส่วนอีกด้านหนึ่งวาดเป็นรูปนก เจาะรูด้านซ้ายและขวาของวงกลมแล้วผูกเชือก เมื่อดึงเชือกให้ภาพพลิกไปมาเร็ว ๆ จะเห็นภาพทั้งสองด้านของกระดาษรวมเป็นภาพเดียวกัน นั่นคือจะเห็นภาพนกอยู่ในกรงได้ ซึ่งคำว่า Thaumatrope มาจากภาษากรีก หมายถึง Wonder Turning หรือ มหัศจรรย์แห่งการหมุน จึงเป็นหนึ่งในต้นแบบของภาพยนตร์ สามารถดูวิดีโอคลิปแสดงภาพหมุน Thaumatrope ได้จากเว็บไซต์ Youtube จากลิงก์ข้างล่างครับ


http://www.youtube.com/watch?v=B8uE67JQcvU&feature=related

และที่เว็บไซต์ AssassinDrake (สามารถเลื่อนสไลด์ปรับความเร็วของการหมุนไ้ด้)

http://assassindrake.com/tt.php

ทฤษฎีว่าด้วยการเห็นภาพติดตา (Persistence of Vision)

การที่เราเห็นภาพหมุน ( Thaumatrope ) เป็นรูปนกอยู่ในกรงได้นั้น สามารถอธิบายได้ด้วย ทฤษฎีว่าด้วยการเห็นภาพติดตา ซึ่งมีหลักการดังนี้





Dr. John Ayrton Paris

(http://www.sciencephoto.com/media/127523/enlarge)

หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือทฤษฎีการเห็นภาพติดตา คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) โดยนักทฤษฎีและแพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อ Dr. John Ayrton Paris ทฤษฎีดังกล่าวอธิบายถึงการมองเห็นภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ไว้ว่า ธรรมชาติของสายตามนุษย์ เมื่อมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง หลังจากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังค้างภาพนั้นไว้ที่เรติน่าในชั่วขณะหนึ่ง ประมาณ 1/15 วินาที และหากในระยะเวลาดังกล่าวมีภาพใหม่ปรากฏขึ้นมาแทนที่สมองของมนุษย์จะเชื่อม โยงสองภาพเข้าด้วยกัน และหากมีภาพต่อไปปรากฏขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะเชื่อมโยงภาพไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าชุดภาพนิ่งที่แต่ภาพนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือเป็นภาพที่มี ลักษณะขยับเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันอยู่แล้ว เมื่อนำมาเคลื่อนที่ผ่านตาเราอย่างต่อเนื่องในระยะเวลากระชั้นชิด เราจะสามารถเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้

อย่างไรก็ตาม มีเคล็ดลับประการหนึ่ง ก็คือ ก่อนที่จะเปลี่ยนภาพใหม่จะต้องมีอะไรมาบังตาเราแว่บหนึ่ง แล้วค่อยเปิดให้เห็นภาพใหม่มาแทนที่ตำแหน่งเดิม โดยอุปกรณ์ที่บังตาคือซัตเตอร์ (Shutter) และระยะเวลาที่ซัตเตอร์บังตาจะต้องน้อยกว่าเวลาที่ฉายภาพค้างไว้ให้ดู มิฉะนั้นจะมองเห็นภาพกระพริบไป ดังนั้น เมื่อเอาภาพนิ่งที่ถ่ายมาอย่างต่อเนื่องหลาย ๆ ภาพมาเรียงต่อกัน แล้วฉายภาพนั้นในเวลาสั้น ๆ ภาพนิ่งเหล่านั้นจะดูเหมือนว่าเคลื่อนไหว หลักการนี้จึงถูกนำมาใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation) และภาพยนตร์ในระยะเวลาต่อมา


3 ภาพเคลื่อนไหว ก่อนกำเนิดภาพยนตร์

“ภาพยนตร์ คือภาพนิ่งแต่ละภาพที่ต่อเนื่องกันอย่างมีระบบ”

ประวัติศาสตร์ของกล้องถ่ายภาพยนตร์ อาจศึกษาย้อนหลังลงไปถึงงานของ Leonardo da Vinci ชิ้นที่เป็นไดอะแกรมของ Camera Obscura อันเป็นกล่องเล็กๆ ที่จับภาพกลับหัวได้ที่ด้านตรงข้ามเลนส์ ซึ่งแรกทีเดียวก็ไม่มีเลนส์ด้วยซ้ำไป เป็นแต่รูเล็กๆเท่านั้น ในตอนต้นศตวรรษที่ 19 นักวิทยาศาสตร์ หลายคนก็พยายามคิดค้นหาแผ่นวัสดุที่จะมารับภาพได้อย่างชัดเจนและคงทนถาวร การทดลองที่ประสบผล สำเร็จเกิดขึ้นในฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ.1839) ด้วยความพยายามของ Louise-Jacques-Mande Dagyerre และ Joseph-Nicephore Niepce แต่ภาพแรกๆ ของดาแกร์นั้นใช้เวลารับแสงนานถึง 15 นาที ในขณะที่การถ่าย และฉายภาพยนตร์ให้ดูภาพเคลื่อนไหวได้เหมือนจริงนั้น จะต้องใช้เวลาอย่างน้อยก็ 16 ภาพต่อวินาที ดังนั้น ในระยะนี้ภาพยนตร์จึงยังไม่อาจเกิดขึ้นได้

ในปี พ.ศ. 2413 (ค.ศ.1870) กล้องถ่ายภาพนิ่งจึงได้มีชัตเตอร์ (shutter) และเริ่มมีการใช้ความเร็วชัตเตอร์ถึง 1/1000 วินาที



Eadweard James Muybridge (1830-1904)
http://www.sciencephoto.com/media/111537/enlarge



Amasa Leland Stanford

(http://en.wikipedia.org/wiki/Leland_Stanford)

บุคคลแรกที่ได้ประยุกต์การถ่ายภาพนิ่งให้เป็นภาพยนตร์ ก็คือ Eadweard Muybridge นักแสวงโชค ชาวอังกฤษที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากในรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี พ.ศ. 2392 (ค.ศ.1849) โดยมีอาชีพเป็นช่างถ่ายรูปอยู่ที่ซานฟรานซิสโก และในปี ค.ศ.1872 ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย คือ Leland Stanford ซึ่งเป็นเจ้าของคอกม้า และนักแข่งม้าได้ท้าพนันกับคู่แข่งของเขาเป็นเงิน 25,000 ดอลลาร์ว่า ในการควบวิ่งของม้านั้น จะมีเวลาหนึ่งที่ขาทั้งสี่ของม้าจะลอยขึ้นเหนือพื้น โดยเขาได้ว่าจ้างให้ไมบริดจ์หาทางพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าว

หลังจากได้รับการว่าจ้าง ไมบริดจ์ก็หาทางอยู่นาน จนกระทั่งปี ค.ศ.1877 (บางตำราว่า 1878) จึง สามารถพิสูจน์ได้ โดยความช่วยเหลือของเพื่อนที่เป็นวิศวกรชื่อ John D. Isaacs โดยเขาตั้งกล้อง ถ่ายภาพนิ่ง 12 ตัว เรียงรายไว้ข้างทางวิ่ง แล้วขึงเชือกเส้นเล็กๆ ขวางทางวิ่งไว้ โดยที่ปลายด้านหนึ่งจะผูกติดกับไกชัตเตอร์ ของกล้องโดยมีแบตเตอรี่ไฟฟ้าเป็นตัวควบคุม เมื่อม้าวิ่งสะดุดเชือกเส้นหนึ่ง ไกชัตเตอร์ของกล้องแรกก็จะทำงาน และเรียงลำดับไปจนครบ 12 ตัว




Galloping Horse; Eadweard Muybridge, 1878

(http://andrewcatsaras.blogspot.com/p/iconic-photographs.html)

หลังจากถ่ายภาพได้แล้ว ไมบริดจ์ (Muybridge) ก็นำภาพที่ได้มาติดบนวงล้อหมุน แล้วฉายด้วยแมจิก แลนเทิร์น (magic lantern) ทำให้เห็นภาพการเคลื่อนไหวของม้าต่อเนื่องเหมือนของจริง และหลังจากได้ทดสอบซ้ำอีกโดยใช้กล้อง 24 ตัว ไมบริดจ์ (Muybridge) ก็สามารถพิสูจน์ได้ว่า ในเวลาที่ม้าควบไปเร็วๆ นั้น ขาทั้งสี่ของมันจะลอยขึ้นเหนือพื้นดินในเวลาหนึ่งจริงๆ แต่ประดิษฐ์กรรม ของไมบริดจ์ก็ยังไม่ถือว่าเป็นภาพยนตร์ เนื่องจากว่ามันถ่ายทำด้วยกล้องถ่ายภาพนิ่ง และต้องใช้กล้อง เป็นจำนวนมากตั้งแต่ 12 หรือ 20 หรือบางทีถึง 40 ตัวทีเดียว

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

July 1, 2556

Record times 3

Study notes

วิทยาศาสตร์






























การทดลอง: ?กระจกเงากับจำนวนภาพสะท้อน?

อุปกรณ์
1. กระจกเงา 2 บาน
2. ยางลบหรือตุ๊กตาตัวเล็ก ๆ ที่ตั้งได้ 1ชิ้น
3. กระดาษรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส 1 แผ่น

การทดลองเรื่อง ?กระจกเงากับจำนวนภาพสะท้อน? ในตอนเช้าทุกคนคงใช้กระจกเงาส่องหน้า ซึ่งเราจะเห็นภาพของตัวเองในกระจกเงากลับซ้ายเป็นขวา และกลับขวาเป็นซ้าย แต่การทดลองนี้จะมีความน่าสนใจมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้วเริ่มเตรียมหาอุปกรณ์กันก่อน การทดลองนี้ให้ ใช้กระจกเงาบานเล็ก ๆ จำนวนสองบาน ประเภทที่มีกรอบพลาสติกหุ้ม ไม่ควรเลือกขนาดของกระจกเงาที่เล็กเกินไป เพราะจะทำให้สังเกตภาพที่เกิดขึ้นในกระจกเงาได้ยาก และไม่ควรใช้กระจกเงาเปล่า ๆ ที่ไม่มีขอบพลาสติกหุ้ม จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เพราะถ้ากระจกเงาแตกจะบาดมือได้

วิธีทดลอง

1. พับกระดาษเพื่อให้เกิดรอยพับ

2. นำกระจกเงาเงาสองบานมาวางบนกระดาษตามแนวพับ ทำมุมหันหน้าเข้าหากัน
3. วางก้อนตุ๊กตาหรือก้อนยางลบด้านหน้า ระหว่างกระจกเงาทั้งสองบาน

4. ลองปรับมุมของบานกระจกทั้งสองให้แคบหรือเล็กลง สังเกตจำนวนภาพของก้อนยางลบที่อยู่ในกระจกเงา