♥♥♥Welcome to blogger Miss Wilaiporn Chinapak ♥♥♥

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

September 30 , 255

Record times 17

Study notes

* ส่งสื่อทุกอย่าง



 วันนี้นำสื่อเข้ามุมเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์มาจัดเข้ามุมเสริมประสบการณ์ให้เด็ก
รวบรวมสื่อกลุ่ม



วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

September 23 , 2556

Record times 17

Study notes


วันนี้ทำกิจกรรมการทำ Cooking คือ แกงจืดแสนอร่อย


เพื่อนที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการทำอาหาร (สอนทำแกงจืดแสนอร่อย)

โดยมีกระบวนการสอนการทำอาหาร (ดังนี้)
1.สวัสดีค่ะเด็กๆ เด็กๆเห็นอะไรบ้างคะที่คุณครูเตรียมมาในวันนี้?
2.เด็กๆเก่งกันทุกคนเลย แล้วเด็กๆลองคิดดูซิว่าของเหล่านี้ที่คุณครูนำมาสามารถเอามาทำอะไรได้บ้าง?
3.ใช่แล้วค่ะ เก่งมากคะ เพราะวันนี้คุณครูจะพาเด็กๆทำแกงจืด ไหนใครเอ่ย ที่เคยช่วยคุณพ่อคุณแม่ทำอาหารบ้างคะ?
4.เรามาเริ่มทำอาหาร คือแกงจืดกันเลย ขั้นตอนแรกเราต้องเทน้ำใส่ลงไปในหม้อต้มก่อน เด็กๆคนไหนอยากเทน้ำใส่หม้าต้มบ้างคะ ออกมาเลยค่ะ? คุณครูขออาสาสมัครมา 1คน มาเทน้ำใส่หม้อต้ม
5.ขณะที่รอน้ำเดือนคุณครูก็นำเต้าหู้มาหั่นรอ แต่ถามเด็กๆก่อนว่าคืออะไร แล้วบอกว่าถ้าเด็กๆจะหั่นเต้าหู้เด็กๆควรให้ผู้ปกครองช่วยหั่นเพราะ มีดมีความคมสามารถเกิดอันตรายต่อเราเองได้
6.เมื่อน้ำเดือน ใส่หมูลงไป เด็กๆคนไหนอยากจะช่วยคุณครูใส่หมูลงไปในหม้อต้มบ้างคะ? เด็กๆระวังนำต้มกระเด็นใส่ด้วยนะ ถ้าเด็กไม่อยากให้น้ำกระเด็นให้เด็กๆเอาลงช้าๆเบาๆนะค่ะ
7.รอจนกว่าหมูจะสุก คุณครูก็พาเด็กๆร้องเพลง เมื่อหมูสุกคุณครูก็ถามความเปลี่ยนแปลงของหมูว่า... หมูเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นอย่างไร?
8.เมื่อหมูสุกแล้วก็ใส่ผัก "เด็กๆคนไหนอยากจะช่วยคุณครูเอาผักใส่บ้างคะ?เมื่อผักสุกก็คุณครูก็ถามความเปลี่ยนแปลงของผัก ว่า ผักที่เด็กใส่ลงไปเป็นอย่างไรบ้างคะ?"
9.การปรุงรส "เด็กๆคนไหนบ้างเอ่ยที่อยากจะปรุงรสชาดช่วยคุณครู"
10.เสร็จแล้วเราจะมาตักใส่ถ้วยนะค่ะ " เด็กๆคนไหนบ้างค่ะที่อยากจะตักแกงจืดใส่ถ้วย"

                                               ภาพการทำอาหารในวันนี้ (แกงจืด)



วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

September 16 , 2556

Record times 16

Study notes

วันนี้อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน (เบียร์) มาสอนการเขียนแผนในการทำ Cooking สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม
1.เขียนคำว่า Cookking หมายความว่าอย่างไรบ้างในความคิดของนักศึกษา

2. อาจารย์ให้ระดมความคิดกันเลือกเมนูอาหารที่นักศึกษาแต่ละกลุ่มอยากจะทำ แล้วบอกประโยชน์และข้อมูลที่เกี่ยวกับเมนูอาหารของแต่ละกลุ่ม

3.เขียนวิธีการทำเมนูอาหารของกลุ่มตนเองอย่างละเอียด เช่น วิธีทำ ,อุปกรณ์ ,วัตถุดิบ เป็นต้น

4.เขียนแผนการสอนเมนูอาหารของกลุ่มตนเอง

5.นำแผนการสอนออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน

รวมภาพนำเสนอกิจกรรมกลุ่ม



September 15 , 2556

Record times 15

Study notes

* หมายเหตุ : วันนี้เรียนชดเชย
- อาจารย์ให้ไปดูบล็อกของตัวเองว่าควรปรับแก้ไขอย่างไร
-อาจารย์ให้นำเสนอสื่อการสอนต่อจากวันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2556 
กลุ่มที่นำเสนอสื่อ มีดังนี้
กลุ่มที่ 1 ภาพ 2 มิติ
กลุ่มที่ 2 นิทานเคลื่อนที่
กลุ่มที่ 3 กล่องเล่นค้นหา (สเปกตัม)
กลุ่มที่ 4 รถลงหลุม
กลุ่มที่ 5 นิทานกระดานหก
กลุ่มที่ 6 กล่องซูโม่เคลื่อนที่
กลุ่มที่ 7 กระดานเปลี่ยนสี
กลุ่มที่ 8 การเจริญเติบโตของสัตว์แต่ละชนิด (สัตว์โลกน่ารัก)
กลุ่มที่ 9 กล่องสัมพันธ์หรรษา

นำเสนอสื่อของเล่น(มุมจัดประสบการณ์)       การทดลอง
- กระป๋องผิวปาก                                                - กาลักน้ำ
- กระดาษร้องเพลง                                             - ตะเกียบยกขวด
- กรวยลูกโปร่ง                                                   - ดอกไม้บาน
- กิ้งก่าไต่เชือก
- กระป๋องมูมเมอแรง
- ตุ๊กตาล้มลุก

ภาพการทำกิจกรรมที่นำเสนอสื่อการสอน



September 2 , 2556

Record times 14

Study notes

นำเสนอสื่อการสอน เข้ามุมวิทยาศาสตร์ และเพื่อนที่ขาดเหลือการนำเสนอสื่อต่างๆให้นำเสนอให้เสร็จ

สื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์ ( เสริมประสบการณ์ )
ทำมาจากวัสดุ  :  กล่องลัง
กลุ่มของดิฉันทำสื่อการสอน  ( กีต้าร์กล่อง)

กลุ่มที่นำเสนอ สื่อการสอนเข้ามุมวิทยาศาสตร์ 
กลุ่มที่ 1 กล่องนำแสง
กลุ่มที่ 2 การมองเห็นผ่านวัตถุโปร่งแสง โปร่งใส ทึบแสง
กลุ่มที่ 3 ไหมญี่ปุ่น (ฉากตัวการ์ตูน)
กลุ่มที่ 4 วงจรชีวิต
กลุ่มที่ 5 กีต้าร์กล่อง
กลุ่มที่ 6 เขาวงกต
กลุุ่มที่ 7 สื่อหมุนเปลี่ยนรูป
กลุ่มที่ 8 กล่องส่องแสง


                
                                        กล่องลังที่อาจร์แจกให้ ที่นำไปประดิษฐ์สื่อการสอนเข้ามุมวิทยาศาสตร์
                             
                                          กล่องที่กลุ่มดิฉัดได้ไปนั้น นำไปประดิษฐ์เป็น "กีต้าร์กล่อง"










                                 
                                  
                                                  ภาพ (กิจกรรมที่แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอสื่่อการสอน )
                                              
                                                   ภาพ (การนำเสนอสื่อการสอนในมุมวิทยาศาสตร์ )














                    
            ภาพ  (การนำเสนอสื่อ )


* หมายเหตุ   อาจารย์ชี้แจงว่าวันที่ 15 กันยายน 2556 นี้ ทำทุกอย่างให้เสร็จ ไม่ว่า จะเป็นการทดลอง  ของเล่นเข้ามุมที่เด็กสามารถทำได้เองง่ายๆ และสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์


วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

August 26 , 2556

Record times 13

Study notes


สรุปงานวิจัย

เรื่องการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ


ของ  เอราวรรณ ศรีจักร



ความมุ่งหมายของการวิจัย

                ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ดังนี้
                1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจําแนก รายทักษะ หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ 
                2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ 

ความสําคญของการวิจัย
 
               ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสําหรับเด็กปฐมวัยใช้เป็นแนวทางในการใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย และเป็นแนวทางสําหรับครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อที่เป็นแบบฝกทักษะหรือสื่ออื่นๆ แก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุด ประสงค์ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ 

ขอบเขตของการวิจัย
               ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ประชากร
               ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปีซึ่ง
กําลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร
เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานครเขตพื้นที่การศึกษา 2 
กลุ่มตัวอย่าง
              กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร
เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับ
สลากเลือกจํานวน 1 ห้องเรียน จากจํานวน 2 ห้องเรียนและผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลอง
จํานวน 15 คน

ระยะเวลาในการทดลอง
              การศึกษาครั้งนี้ ทําการทดลองในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2550 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาท

ตัวแปรที่ศึกษา
              1. ตัวแปรอิสระ
              กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
              2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ              2.1 การสังเกต
              2.2 การจําแนกประเภท
              2.3 การสื่อสาร

              2.4 การลงความเห็น


นิยามศัพท์เฉพาะ
             
              1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย - หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปีซึ่งกําลังศึกษาอยู่ระดับอนุบาลศึกษา
              2. การพัฒนา หมายถึง ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทักษากระบวน การวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งประเมินโดยแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
              3. ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวยั หมายถึง ความสามารถของเด็กปฐมวัยในการใชความคิดการค้นหาความรู้เพื่อหาคําตอบที่เป็นองค์ความรู้ได้ในการวิจัยนี้จําแนกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
             3.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวกาย เขาไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือ 
เหตุการณ์แล้วเด็กสามารถบอกลักษณะหรือความแตกต่างของสิ่งนั้นได้
             3.2 การจําแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทอย่างใดอย่างหนึ่งได้แก่ ความเหมือน ความแตกต่างและความสัมพันธ์
             3.3 การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการบอกขอความหรือเล่าให้ฟังถึงสิ่งที่ค้นพบจากการสังเกต การทดลองเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง
             3.4 การลงความเห็น หมายถึง ความสามารถในการอธิบายหรือสรุปความเห็นสิ่งที่ค้นพบหรืออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหรือที่ได้จากประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับการใช้เหตุผล
             4. กิจกรรมการเรียนรู้หมายถึงงานการเรียนสําหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อให้เด็กได้ปฏิบัติการการเรียนรู้โดยจัดลําดับสาระตามชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ของ รศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ ที่นํามาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้เด็กได้ลงมือกระทําได้รับประโยชน์จริง ดังนี้


              ขั้นนํา เป็นขั้นการเตรียมเด็กเข้าสู่กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วยกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเรื่องที่จะเรียน 
             ขั้นสอน แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 จัดกิจกรรมให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน และตอนที่ 2 ทําชุดแบบฝึกทักษะตามมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน
             ขั้นสรุป เด็กร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่เด็กได้รับจากการเรียนเรื่องนั้นๆ
             5. ชุดแบบฝึกทักษะ หมายถึง แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยเน้นการใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ (Brain - Based Learning) สําหรับเด็กปฐมวัยที่ออกแบบโดย ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ 
จํานวน 4 เรื่อง คือ การสังเกต พืช สัตว์และโลกของเรา


สรุปผลการศึกษาค้นคว้า

             1. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวม หลังการใช้กิจกรรม

การเรียนรประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมากและจําแนกรายทักษะอยู่ในระดับดีมาก 3 ทักษะ 
คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเหน็ และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือ 


ทักษะการจําแนกประเภท

            2. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้
ประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมี
นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 



















August 19 , 2556

Record times 12

Study notes

นำเสนอการทดลอง(งานกลุ่ม) การทดลองกลุ่มของดิฉัน " เทียนไขดูดน้ำ "
สมาชิกกลุ่ม  ดังนี้
1.นางสาวฑิฆัมพร สุดาเดช 5411201352
2.นางสาวเบญจวรรณ นนตะพันธ์ 5411201469
3.นางสาววิไลพร ชินภักดิ์ 5411201667



อุปกรณ์การทดลอง
1.เทียนไข                            2.จาน/ถาด           3.ขวดแก้วหรือแก้วที่มีความสูงกว่าเทียน
4.ไม้ขีดไฟหรือไฟแช็ก          5.สีผสมอาหารเพื่อให้เห็นผลการทดลองได้ชัดเจนขึ้น

วิธีการทดลอง

1.ให้หยดสีผสมอาหารลงในน้ำที่เตรียมไว้
2.ให้เทน้ำที่ผสมสีไว้แล้วลงในจานที่เตรียมไว้
3.นำเทียนไปวางบริเวณกึ่งกลางของจานแล้วจุดไฟ
4.นำแก้วครอบเทียนไว้ รอสักครู่ไฟจะดับสังเกตว่าน้ำที่อยู่รอบๆแก้วจะค่อยๆ ไหลเข้ามาอยู่ในแก้ว

สรุปผลการทดลอง
     สาเหตุที่น้ำด้านภายนอกสามารถเข้าไปอยู่ภายในแก้วได้ก็เพราะเมื่อออกซิเจนที่มีภายในแก้วถูกใช้ในการเผาไหม้จนหมด(เทียนดับ) จึงทำให้ความดันอากาศภายในแก้วมีน้อยกว่าภายนอกแก้ว   ความดันอากาศภายนอกจึงดันให้น้ำนอกแก้วไหลเข้าไปในแก้วที่มีความดันอากาศน้อยกว่านั้นเอง

ภาพการทำการทดลอง
































วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

August 17 , 2556

Record times 11

Study notes

* วันเสาร์ ที่ 17  August 2556 เป็นวันที่อาจารย์ นัดเรียนชดเฉย
* ดิฉันไม่ได้มาเรียนในวันนี้ เนื่องจากดิฉินต้องกลับไปทำธุระที่บ้านต่างจังหวัด ( งานศพ )
สื่อวิทยาศาสตร์ที่เด็กสามารถได้เอง ซึ่งจัดเข้ามุมเสริมประสบการณ์ สื่อของดิฉันคือ ประทัดกระดาษ


อุปกรณ์ที่ใช้
กระดาษขนาด A4 ( ขนาด 29.7 x 21.0 เซนติเมตร ) หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ก็ได้


วิธีการทดลอง
1. พับกระดาษตามขั้นตอน ดังรูป









2. ในขณะกำลังพับกระดาษ พยายามทำให้ขอบกระดาษเรียบแนบสนิทกัน
3. จับปลายกระดาษตรงบริเวณด้านล่างสุดของวิธีการพับ ด้วยปลายนิ้ว ดังรูป








4. เหวี่ยงกระดาษอย่างแรง โดยไม่ปล่อยมือ จนทำให้ได้ยินเสียงดังคล้ายประทัด






หลักการและเหตุผล

เนื่องจากเสียงในธรรมชาติเกิดจากการสั่นของวัตถุ การเหวี่ยงประทัดกระดาษทำให้เกิดเสียงดังขึ้นได้เพราะว่าการสั่นของกระดาษส่วนหนึ่งที่โผล่ออกมาทันทีขณะที่เรากำลังเหวี่ยงนั้นกระดาษส่วนนี้ได้ไปกระทบกับอากาศอย่างแรงทำให้อากาศมีการสั่น และการสั่นของอากาศนี้เองที่ทำให้หูและส่วนประกอบภายในหูเกิดการได้ยินเสียง
องค์ประกอบของการได้ยินเสียงในธรรมชาติ มี 3 ส่วนด้วยกัน คือ ต้นกำเนิดเสียง ( ในที่นี้ คือ กระดาษส่วนที่กระทบอากาศอย่างแรง ) , ตัวกลาง ( ในที่นี้ คือ อากาศ ) และประสาทรับเสียง ( ในที่นี้ คือ หูและส่วนประกอบภายในหู )
ในกรณีเดียวกัน การที่เราได้ยินเสียงประทัดที่จุดขึ้นในงานประเพณีมีเสียงดังได้นั้น เนื่องจากประทัดระเบิด ทำให้อากาศโดยรอบสั่นอย่างรุนแรง เราจึงได้ยินเสียง

August 12 , 2556

Record times 10

Study notes

วันแม่แห่งชาติ พ.ศ. 2556




“ แม่ ” คำคำนี้เป็นคำสูง เป็นมงคลแห่งคำอันควรเทิดไว้เหนือบรรดาคำทั้งปวงในภาษาศาสตร์ เป็นคำที่น่าฟัง ไพเราะเสนาะหู มีความหมายในทางชื่นอกชื่นใจ เราจึงเรียกคนที่กำเนิดเรามาว่า “แม่” เพราะเรียกคำอื่นคงฟังไม่ชื่นใจมากเท่านี้ และคำว่า “แม่” นี่เองเป็นคำที่เด็กมักจะพูดก่อนคำใดๆ เมื่อเริ่มพูดได้ เด็กต้องพูดคำว่า แม่ก่อน แม้ว่าจะพูดไม่ชัด ออกเสียงเป็น มะ เป็น แมะ อะไรไปก็ได้ แต่จุดหมายของเขาก็คือเรียกคนที่เขารู้จักมาก่อนใครๆ ผู้ที่ใกล้ชิดมากกว่าใคร ผู้เฝ้าดูแลอุ้มชูทะนุถนอมชีวิตน้อยๆในครรภ์มากว่า ๙ เดือน

๐ ดอกเอ๋ยดอกมะลิ ถึงยามผลิกลีบพราวสกาวต้น
สดสะอาดปราศสีราคีระคน เหมือนกมลใสสดหมดระคาย
กลิ่นมะลิหอมกระไรไม่รู้สร่าง เปรียบได้อย่างรักแท้ไม่แปรหาย
อันรักแท้แลหัวใจได้บรรยาย ขอเชิญทายหาที่ไหนจากใครเอย


๐ใจเอ๋ยใจสะอาด น่าประหลาดใจใครที่ไหนหนา
จึ่งสะอาดปราศตำหนิเหมือนมัลลิกา ดังใจพระออกจะหาได้ยากครัน
ใจมนุษย์มักจะดำอำมหิต เพราะมัวคิดโลภรังเกียจคอยเดียดฉันท์
ในโลกหล้าจะหาได้ที่ไหนกัน เห็นแต่ใจแม่เท่านั้นสะอาดเอย


๐รักเอ๋ยรักแท้ รักอะไรของใครแน่ยังสงสัย
เพราะรักของสาวหนุ่มชุ่มชื่นใจ ก็ยังไม่ดำรงคงเส้นวา
หรือรักของพี่น้องผองญาติมิตร รักชีวิตรักชาติศาสนา
ยังเปลี่ยนแปลงตะแบงบิดฤทธิ์เงินตรา รักของแม่นั่นแลว่ารักแท้เอย


๐แม่จ๋า แม่ช่วยตอบปัญหาลูกได้ไหม
ไยแม่เฝ้ารักลูกผูกหัวใจ ลูกดีชั่วอย่างไรรักไม่คลาย
หัวใจแม่เป็นไฉนไยผ่องผุด หลั่งรักแท้บริสุทธิ์ไม่ขาดสาย
เฝ้าพันผูกตั้งแต่ลูกกำเนิดกาย จนลูกตายรักของแม่ไม่แปรเอย

จากบทดอกสร้อยแม่จ๋า ของท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา




วันแม่แห่งชาติ เป็นวันสำคัญที่ถูกกำหนดขึ้น เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของแม่ บุคคลที่สำคัญมากที่สุดในชีวิตมนุษย์ทุกคน เพราะแม่นั้นเปรียบดังเทวดา ผู้ให้ชีวิต ผู้คอยดูแลคุ้มครองรักษา มอบความรัก ความอบอุ่น อุ้มชูบุตรไปสู่ความเจริญทั้งกาย ทั้งใจ เป็นผู้ร่วมทุกข์ในยามที่ลูกตกต่ำและเหนื่อยยาก เปรียบเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรให้ที่ปกป้องลูกให้ร่มเย็นเป็นสุข ดั่งพระในบ้านที่บุตรควรกราบไหว้บูชา สักการะทุกวันเวลา

ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติได้ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกของโลก ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. ๑๙๑๔ (พ.ศ.๒๔๕๗) จากความพยายามริเริ่มของ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูจากรัฐฟิลาเดเฟีย จนในที่สุดประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ ของสหรัฐอเมริกา และกำหนดดอกไม้สำหรับวันแม่แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา คือ ดอกคาร์เนชั่น

สำหรับในประเทศไทยนั้นมีการจัดงานวันแม่ขึ้นมาเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง งานวันแม่ในปีต่อมาจึงถูกงดไป หลังจากผ่านสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เเละได้มีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม คือวันที่ ๑๕ เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ โดยกิจกรรมก็มี การจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้วันแม่จึงเป็นงานประจำของชาติ ตามประกาศของรัฐบาล ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในเวลานั้นทั่วไปเรียกกันว่า วันแม่ของชาติ

งานวันแม่ในวันที่ ๑๕ เมษายน ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี แต่ก็ต้องมาหยุดชะงักลงด้วยเหตุที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย เห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดจัดงานวันแม่ คือวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ แต่จัดได้ปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ทางราชการจึงได้กำหนดวันแม่ใหม่ โดยให้ถือวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ ๑๒ สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ  

 

โดยวัตถุประสงค์ที่จัดงานวันแม่ขึ้นมาก็เพื่อ
- เทิดทูนและเผยแพร่พระเกียรติคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในฐานะแม่ของแผ่นดิน ผทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทย
-ให้ผู้เป็นลูกได้สำนึกถึงพระคุณของแม่ และตระหนักถึงหน้าที่ของลูกที่พึงมีความกตัญญูกตเวทีต่อแม่ ดูแลเอาใจใส่ในสุขภาพทั้งกายใจของแม่ให้ครบถ้วนสมบรูณ์
-ให้ผู้ที่เป็นแม่ได้ตระหนักถึงหน้าที่ของตนที่พึงมีต่อบุตร ธิดา และครอบครัว
-ประกาศเกียรติคุณ และเผยแพร่ให้สงคมได้รับรู้ถึงคุณงามความดีของแม่และลูกที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนเป็นแบบอย่างที่ดี สมควรแก่ความชื่นชม ยกย่อง
-รักษาประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติในเรื่องความกตัญญูของลูกที่มีต่อแม่ให้คงอยู่ต่อไป

สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่ของทุกปี ก็คือ ดอกมะลิ ด้วยเหตุผลที่ว่า ดอกมะลิเป็นดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย...

สัญลักษณ์อีกอย่างของวันแม่ก็คือ เพลงค่าน้ำนม เพลงอย่างเป็นทางการที่ใช้ในงานวันเเม่เเห่งชาติ ผลงานการประพันธ์ของครูไพบูลย์ บุตรขัน นักแต่งเพลงที่มีผลงานที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก จนได้รับการขนานนามให้เป็น "อัจฉริยะนักแต่งเพลงอันดับหนึ่งของไทย" บทเพลงค่าน้ำนมนั้นยามได้ฟังเมื่อไร เป็นชวนให้ระลึกถึงบุญคุณของเเม่ ท่วงทำนองกับคำร้องที่ตรงไป ตรงมา ชวนให้นึกภาพตามได้ไม่ยาก แม้แต่เด็กเล็กๆก็เข้าใจ ใครฟังเพลงนี้แล้วก็มักจะต้องหลั่งน้ำตาให้กับความซาบซึ้งแห่งรักที่แม่มีให้เรา นอกจากนี้เนื้อเพลงยังกล่าวให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมดั้งเดิมตามวิถีไทย อย่างความเชื่อว่า หากลูกชายบ้านไหน ได้บวชเรียน ก็จะส่งแผ่ อานิสงค์ให้กับพ่อแม่ ได้เกาะชายผ้าเหลืองไปสู่ที่ดีๆ เมื่อถึงยามสิ้นใจ

ในทางพระพุทธศาสนาเอง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสบรรยายคุณธรรมของบุตรที่พึงปฏิบัติเพื่อทดแทนพระคุณต่อ บิดา มารดาไว้ด้วยคำว่า

"กตัญญู กตเวที" คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นลูกนั้นรวมอยู่ใน ๒ คำนี้
กตัญญู หมายถึงเห็นคุณท่าน คือเห็นด้วยใจ ด้วยปัญญา ว่าท่านเป็นผู้มีพระคุณต่อเราอย่างแท้จริง คุณของพ่อ แม่ดูได้จากการอุปการะเลี้ยงดูเรามา ตามธรรมดาของคนทั่ว ๆ ไป เมื่อจะอุปการะใครเขาต้องเห็นทางได้ เช่น เห็นหลักทรัพย์ หรือดูนิสัยใจคอ ต่อเมื่อแน่ใจแล้วว่าอุปการคุณของเขาจะไม่สูญเปล่า แต่ที่บิดา มารดา ทำโดยบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้มองถึงหลักประกันใด ๆ เลย เราเองก็เกิดมาตัวเปล่าไม่มีหลักทรัพย์ ยิ่งนิสัยใจคอแล้วยิ่งรู้ไม่ได้เอาทีเดียว โตขึ้นมาจะเป็นอย่างไร

August 5 , 2556

Record times 9

Study notes
-----> เป็นสัปดาห์ที่นักศึกษาทุกคน มีการสอบ

July 29, 2556

Record times 8

Study notes
* วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์จะไปทำธุระที่ต่างประเทศ จึงให้นักศึกษาไปเตรียมการนำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  แล้วให้นำเสนอ ในวันที่ 12 August 2556  สัปดาห์ที่ 10 

July 28 , 2556

Record times 7

Study notes

-----> วันนี้ชดเชยการเรียนการสอน
* อาจารย์ให้เข้าร่วมอบรมการทำกรรมสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย
โดยให้แบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่ม โดยทำสื่อ เป็น 2 ชิ้น  ชิ้นที่1 ภาพนูน ชิ้นที่ 2 ภาพเคลื่อนไหว


 ภาพนูน




ภาพเคลื่อนไหว

July 22 , 2556

Record times 6

Study notes

             ----> เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดเข้าพรรษา


วันเข้าพรรษา 23 ก.ค. วันเข้าพรรษา 2556 วันเข้าพรรษา ประวัติ เข้าพรรษา ความสําคัญ วันเข้าพรรษา ภาษาอังกฤษ วันเข้าพรรษา ร่วมกิจกรรม วันเข้าพรรษา ความหมาย วันเข้าพรรษา



วันเข้าพรรษา 23 ก.ค. วันเข้าพรรษา ประวัติ
วันเข้าพรรษา แรม 1 ค่ำ เดือน 8 วันเข้าพรรษา ประวัติ


วันเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา - The Buddhist Lent Day

วันเข้าพรรษา ปีนี้ตรงกับวันที่ 23 กรกฏาคม 2556

วันเข้าพรรษา หรือการ เข้าพรรษา คือ การที่พระภิกษุตั้งใจว่าจะอยู่ประจำ ณ วัดใด วัดหนึ่ง ตลอดเวลา 3 เดือน ในฤดูฝน ไม่ไปค้างที่อื่นในระหว่างนั้น


“เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝนโดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แต่พอเข้าฤดูฝนถนนหนทางเป็นโคลนเลนทั่วไปหมด และทางเดินบ้างสายต้องผ่านไร่นา ซึ่งเจ้าของเขาไถ่หว่านปลูกพืชทั่วบริเวณทั่วบริเวณเสียแล้ว การเดินทางไม่สู้สะดวก จึงไม่มีใครไปไหนมาไหนโดยไม่จำเป็น เพราะเกรงจะเหยียบย่ำเข้าไปในนาทำทำให้เกิดความเสียหาน พระพุทธองค์ทรงทราบดี จึงตั้งระเบียบการจำพรรษาขึ้น ให้พระภิกษุสงฆ์หยุดพักการเดินทางระหว่างฤดูฝน กำหนดตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 รวมเวลา 3 เดือนเต็มเว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด


วันเข้าพรรษา 23 ก.ค. วันเข้าพรรษา 2556 วันเข้าพรรษา ประวัติ

ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า “วิหาร” แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย เหตุประการสุดท้ายนี้ฐานพระพุทธรูปไป บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า“อาราม” ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังนี้เช่นปัจจุบันนี้

โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระ ตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษา หรือผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา

การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด รับว่าเป็นประโยชน์



วันเข้าพรรษา 23 ก.ค. วันเข้าพรรษา 2556 วันเข้าพรรษา

การปฏิบัติตนใน วันเข้าพรรษา

เข้าพรรษา ในวันเข้าพรรษานี้ หรือก่อนวันเข้าพรรษานี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะ เช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่นสบู่ ยาสีฟัน ฯลฯ มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่ เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์ อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษาโดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ

แม้การเข้าพรรษา จะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษา ชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิ วิหาร และอื่น ๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ ฯลฯ นอกจากนี้ บิดา มารดา มักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษา ในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง

July 15 , 2556

Record times 5

Study notes

       - อาจารย์ให้นำเสนอสื่อที่เด็กสามารถทำได้เอง ซึ่งเป็นสื่อที่จัดเข้ามุมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
สื่อนั้นชื่อว่า  สนุกกับประทัดกระดาษ
        หลายคนที่เคยได้ยินเสียงประทัด คงเข้าใจดีว่าประทัดมีเสียงดังมากแค่ไหน หากบางคนไม่เคยได้ยินเสียงประทัดมาก่อนการทดลองต่อไปนี้เป็นการง่ายๆ และไม่เป็นอันตราย เราจะมาพับประทัดกระดาษกัน ซึ่งกระดาษเป็นอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายอีกทั้งประทัดกระดาษยังสามารถเล่นได้หลายครั้ง จนกว่าจะรู้สึกเบื่อ แต่ก็ไม่ควรเล่นให้ผู้อื่นรู้สึกรำคาญ หรือรบกวนสมาธิของผู้อื่นทดลอง

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
กระดาษขนาด A4 ( ขนาด 29.7 x 21.0 เซนติเมตร ) หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ก็ได้

วิธีการทดลอง
1. พับกระดาษตามขั้นตอน ดังรูป



2. ในขณะกำลังพับกระดาษ พยายามทำให้ขอบกระดาษเรียบแนบสนิทกัน
3. จับปลายกระดาษตรงบริเวณด้านล่างสุดของวิธีการพับ ด้วยปลายนิ้ว ดังรูป


4. เหวี่ยงกระดาษอย่างแรง โดยไม่ปล่อยมือ จนทำให้ได้ยินเสียงดังคล้ายประทัด



หลักการและเหตุผล

           เนื่องจากเสียงในธรรมชาติเกิดจากการสั่นของวัตถุ การเหวี่ยงประทัดกระดาษทำให้เกิดเสียงดังขึ้นได้เพราะว่าการสั่นของกระดาษส่วนหนึ่งที่โผล่ออกมาทันทีขณะที่เรากำลังเหวี่ยงนั้นกระดาษส่วนนี้ได้ไปกระทบกับอากาศอย่างแรงทำให้อากาศมีการสั่น และการสั่นของอากาศนี้เองที่ทำให้หูและส่วนประกอบภายในหูเกิดการได้ยินเสียง
องค์ประกอบของการได้ยินเสียงในธรรมชาติ มี 3 ส่วนด้วยกัน คือ ต้นกำเนิดเสียง ( ในที่นี้ คือ กระดาษส่วนที่กระทบอากาศอย่างแรง ) , ตัวกลาง ( ในที่นี้ คือ อากาศ ) และประสาทรับเสียง ( ในที่นี้ คือ หูและส่วนประกอบภายในหู )
           ในกรณีเดียวกัน การที่เราได้ยินเสียงประทัดที่จุดขึ้นในงานประเพณีมีเสียงดังได้นั้น เนื่องจากประทัดระเบิด ทำให้อากาศโดยรอบสั่นอย่างรุนแรง เราจึงได้ยินเสียง

            -  อาจารย์อธิบายว่าการเขียนที่จะนำมาส่งให้เขียนเป็นตอน  อย่างเช่น
                ขั้นที่ 1 เตรียมอุปกรณ์การทำให้ครบ        ( ถ่ายรูป )
                ขั้นที่ 2 เริ่มทำหรือประดิษฐ์                    ( ถ่ายรูป )
            *  ถ่ายการทำแต่ละขั้นตอน

** สื่อเข้ามุมที่เด็กทำได้ ----> จัดเข้าในมุมวิทยาศาสตร์     สื่อการทดลอง ----> การนำการทดลองที่มีขั้นตอน มีความเปลี่ยนแปลง

            - อาจารย์ให้ดูสื่่อวิทยาศาสตร์ของทางโรงเรียน พร้อมอธิบาย ในเรื่อง การทดลอง ที่ทางโรงเรียน
จัดขึ้น


              การทดลอง เรื่องของแรงดัน ของขวดน้ำกับหลอด
              หลักการ   เมื่อเราเป่าอากาศผ่านหลอดที่อยู่เหนือน้ำ อากาศจะเพิ่มปริมาณขึ้น แรงดันอากาศจึงทำให้น้ำมีมากขึ้นจึงดันน้ำไหลเข้าไปในหลอด
              การทดลอง เรื่อง การกำเนิดของเสียง
              หลักการ การสั่นสะเทือนของเสียง
     
            - อาจารย์ให้ดู VDO จำนวน 2 เรื่อง ดังนี้

    1.รู้รอบโลกวิทยาศาสตร์ : เรื่อง "เมล็ดจะงอกไหม"
    2.ISCI  ความฉลาดแบบยกกำลังสอง : เรื่อง "ลูกโปร่งรับน้ำหนัก"





วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

July 8, 2556


Record times 4

Study notes

อากาศ













            ต่อจากการดู VDO เรื่องอากาศเสร็จ อาจารย์ก็ให้นำเสนอสื่อวิทยาศาสตร์ที่เด็กสามารถทำได้เอง ได้นำเสนอ กล้องโทรทรรศน์



ความหมายและหลักการเกิดภาพเคลื่อนไหว

0

 



ความหมายของภาพยนตร์

คำว่า “ภาพยนตร์” มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษอยู่หลายคำ เช่น Motion Picture , Cinema , Film และ Movie เป็นต้น
ซึ่งมีผู้รู้ไ้ด้ให้คำนิยามของภาพยนตร์ไว้ดังนี้

ภาพยนตร์ เป็น กระบวนการบันทึกภาพด้วยฟิล์ม (Film) แล้วนำออกฉายถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ในลักษณะภาพเคลื่อนไหว (Motion Pictures) ซึ่งภาพที่ปรากฏบนฟิล์มภาพยนตร์เป็นเพียงภาพนิ่งจำนวนมากที่มีอิริยาบถหรือ การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อยเรียงต่อเนื่องกันตามเรื่องราวที่ถ่ายทำ และตัดต่อมา เนื้อหาของภาพยนตร์อาจเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรือเป็นการแสดงให้เหมือนจริง หรือเป็นการแสดงและสร้างภาพจากจินตนาการณ์ของผู้สร้าง เพื่อให้ผู้ชมเกิดอารมณ์ร่วมไปกับภาพยนตร์ในขณะที่รับชม
2. หลักการเกิดภาพเคลื่อนไหว

การที่เราเห็นภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพที่ฉายต่อเนื่องกัน ดูเป็นลักษณะภาพเคลื่อนไหวได้นั้น สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการเห็นภาพติดตา (Persistence of Vision) อันเป็นหัวใจของหลักการสร้างภาพยนตร์เพราะภาพยนตร์ก็คือภาพนิ่งแต่ละภาพที่ ต่อเนื่องกันอย่างมีระบบนั่นเอง ซึ่งมีที่มาตั้งแต่ของเล่นที่ชื่อว่า ภาพหมุน ( Thaumatrope )


ภาพหมุน ( Thaumatrope )
Thaumatrope (อ่านว่า ธัมมาโทรป) เป็นของเล่นที่ประดิษฐ์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2368 (ค.ศ. 1825) โดย ดร.วิเลี่ยม เฮนรี่ ฟิตตอน (Dr. William Henry Fitton) ซึ่งได้แนวคิดมาจากเซอร์จอห์น เฮอร์เซล ผู้ที่สังเกตว่าสายตามนุษย์สามารถมองเห็นภาพทั้งสองด้านของเหรียญที่หมุน อยู่ได้พร้อมกัน




ดร.วิเลี่ยม เฮนรี่ ฟิตตอน (Dr. William Henry Fitton)

(http://www.ireference.ca/search/William%20Henry%20Fitton/)



ภาพหมุน ( Thaumatrope )

(http://littleworm55.blogspot.com/)

Thaumatrope ทำจากกระดาษแข็งตัดเป็นวงกลม โดยมีรูปภาพหรือภาพวาดทั้งสองด้าน เช่น ถ้าวาดภาพด้านหนึ่งเป็นกรงนก ส่วนอีกด้านหนึ่งวาดเป็นรูปนก เจาะรูด้านซ้ายและขวาของวงกลมแล้วผูกเชือก เมื่อดึงเชือกให้ภาพพลิกไปมาเร็ว ๆ จะเห็นภาพทั้งสองด้านของกระดาษรวมเป็นภาพเดียวกัน นั่นคือจะเห็นภาพนกอยู่ในกรงได้ ซึ่งคำว่า Thaumatrope มาจากภาษากรีก หมายถึง Wonder Turning หรือ มหัศจรรย์แห่งการหมุน จึงเป็นหนึ่งในต้นแบบของภาพยนตร์ สามารถดูวิดีโอคลิปแสดงภาพหมุน Thaumatrope ได้จากเว็บไซต์ Youtube จากลิงก์ข้างล่างครับ


http://www.youtube.com/watch?v=B8uE67JQcvU&feature=related

และที่เว็บไซต์ AssassinDrake (สามารถเลื่อนสไลด์ปรับความเร็วของการหมุนไ้ด้)

http://assassindrake.com/tt.php

ทฤษฎีว่าด้วยการเห็นภาพติดตา (Persistence of Vision)

การที่เราเห็นภาพหมุน ( Thaumatrope ) เป็นรูปนกอยู่ในกรงได้นั้น สามารถอธิบายได้ด้วย ทฤษฎีว่าด้วยการเห็นภาพติดตา ซึ่งมีหลักการดังนี้





Dr. John Ayrton Paris

(http://www.sciencephoto.com/media/127523/enlarge)

หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือทฤษฎีการเห็นภาพติดตา คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) โดยนักทฤษฎีและแพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อ Dr. John Ayrton Paris ทฤษฎีดังกล่าวอธิบายถึงการมองเห็นภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ไว้ว่า ธรรมชาติของสายตามนุษย์ เมื่อมองเห็นภาพใดภาพหนึ่ง หลังจากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังค้างภาพนั้นไว้ที่เรติน่าในชั่วขณะหนึ่ง ประมาณ 1/15 วินาที และหากในระยะเวลาดังกล่าวมีภาพใหม่ปรากฏขึ้นมาแทนที่สมองของมนุษย์จะเชื่อม โยงสองภาพเข้าด้วยกัน และหากมีภาพต่อไปปรากฏขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ก็จะเชื่อมโยงภาพไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าชุดภาพนิ่งที่แต่ภาพนั้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยหรือเป็นภาพที่มี ลักษณะขยับเคลื่อนไหวต่อเนื่องกันอยู่แล้ว เมื่อนำมาเคลื่อนที่ผ่านตาเราอย่างต่อเนื่องในระยะเวลากระชั้นชิด เราจะสามารถเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้

อย่างไรก็ตาม มีเคล็ดลับประการหนึ่ง ก็คือ ก่อนที่จะเปลี่ยนภาพใหม่จะต้องมีอะไรมาบังตาเราแว่บหนึ่ง แล้วค่อยเปิดให้เห็นภาพใหม่มาแทนที่ตำแหน่งเดิม โดยอุปกรณ์ที่บังตาคือซัตเตอร์ (Shutter) และระยะเวลาที่ซัตเตอร์บังตาจะต้องน้อยกว่าเวลาที่ฉายภาพค้างไว้ให้ดู มิฉะนั้นจะมองเห็นภาพกระพริบไป ดังนั้น เมื่อเอาภาพนิ่งที่ถ่ายมาอย่างต่อเนื่องหลาย ๆ ภาพมาเรียงต่อกัน แล้วฉายภาพนั้นในเวลาสั้น ๆ ภาพนิ่งเหล่านั้นจะดูเหมือนว่าเคลื่อนไหว หลักการนี้จึงถูกนำมาใช้ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation) และภาพยนตร์ในระยะเวลาต่อมา


3 ภาพเคลื่อนไหว ก่อนกำเนิดภาพยนตร์

“ภาพยนตร์ คือภาพนิ่งแต่ละภาพที่ต่อเนื่องกันอย่างมีระบบ”

ประวัติศาสตร์ของกล้องถ่ายภาพยนตร์ อาจศึกษาย้อนหลังลงไปถึงงานของ Leonardo da Vinci ชิ้นที่เป็นไดอะแกรมของ Camera Obscura อันเป็นกล่องเล็กๆ ที่จับภาพกลับหัวได้ที่ด้านตรงข้ามเลนส์ ซึ่งแรกทีเดียวก็ไม่มีเลนส์ด้วยซ้ำไป เป็นแต่รูเล็กๆเท่านั้น ในตอนต้นศตวรรษที่ 19 นักวิทยาศาสตร์ หลายคนก็พยายามคิดค้นหาแผ่นวัสดุที่จะมารับภาพได้อย่างชัดเจนและคงทนถาวร การทดลองที่ประสบผล สำเร็จเกิดขึ้นในฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ.1839) ด้วยความพยายามของ Louise-Jacques-Mande Dagyerre และ Joseph-Nicephore Niepce แต่ภาพแรกๆ ของดาแกร์นั้นใช้เวลารับแสงนานถึง 15 นาที ในขณะที่การถ่าย และฉายภาพยนตร์ให้ดูภาพเคลื่อนไหวได้เหมือนจริงนั้น จะต้องใช้เวลาอย่างน้อยก็ 16 ภาพต่อวินาที ดังนั้น ในระยะนี้ภาพยนตร์จึงยังไม่อาจเกิดขึ้นได้

ในปี พ.ศ. 2413 (ค.ศ.1870) กล้องถ่ายภาพนิ่งจึงได้มีชัตเตอร์ (shutter) และเริ่มมีการใช้ความเร็วชัตเตอร์ถึง 1/1000 วินาที



Eadweard James Muybridge (1830-1904)
http://www.sciencephoto.com/media/111537/enlarge



Amasa Leland Stanford

(http://en.wikipedia.org/wiki/Leland_Stanford)

บุคคลแรกที่ได้ประยุกต์การถ่ายภาพนิ่งให้เป็นภาพยนตร์ ก็คือ Eadweard Muybridge นักแสวงโชค ชาวอังกฤษที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากในรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี พ.ศ. 2392 (ค.ศ.1849) โดยมีอาชีพเป็นช่างถ่ายรูปอยู่ที่ซานฟรานซิสโก และในปี ค.ศ.1872 ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย คือ Leland Stanford ซึ่งเป็นเจ้าของคอกม้า และนักแข่งม้าได้ท้าพนันกับคู่แข่งของเขาเป็นเงิน 25,000 ดอลลาร์ว่า ในการควบวิ่งของม้านั้น จะมีเวลาหนึ่งที่ขาทั้งสี่ของม้าจะลอยขึ้นเหนือพื้น โดยเขาได้ว่าจ้างให้ไมบริดจ์หาทางพิสูจน์ข้อเท็จจริงดังกล่าว

หลังจากได้รับการว่าจ้าง ไมบริดจ์ก็หาทางอยู่นาน จนกระทั่งปี ค.ศ.1877 (บางตำราว่า 1878) จึง สามารถพิสูจน์ได้ โดยความช่วยเหลือของเพื่อนที่เป็นวิศวกรชื่อ John D. Isaacs โดยเขาตั้งกล้อง ถ่ายภาพนิ่ง 12 ตัว เรียงรายไว้ข้างทางวิ่ง แล้วขึงเชือกเส้นเล็กๆ ขวางทางวิ่งไว้ โดยที่ปลายด้านหนึ่งจะผูกติดกับไกชัตเตอร์ ของกล้องโดยมีแบตเตอรี่ไฟฟ้าเป็นตัวควบคุม เมื่อม้าวิ่งสะดุดเชือกเส้นหนึ่ง ไกชัตเตอร์ของกล้องแรกก็จะทำงาน และเรียงลำดับไปจนครบ 12 ตัว




Galloping Horse; Eadweard Muybridge, 1878

(http://andrewcatsaras.blogspot.com/p/iconic-photographs.html)

หลังจากถ่ายภาพได้แล้ว ไมบริดจ์ (Muybridge) ก็นำภาพที่ได้มาติดบนวงล้อหมุน แล้วฉายด้วยแมจิก แลนเทิร์น (magic lantern) ทำให้เห็นภาพการเคลื่อนไหวของม้าต่อเนื่องเหมือนของจริง และหลังจากได้ทดสอบซ้ำอีกโดยใช้กล้อง 24 ตัว ไมบริดจ์ (Muybridge) ก็สามารถพิสูจน์ได้ว่า ในเวลาที่ม้าควบไปเร็วๆ นั้น ขาทั้งสี่ของมันจะลอยขึ้นเหนือพื้นดินในเวลาหนึ่งจริงๆ แต่ประดิษฐ์กรรม ของไมบริดจ์ก็ยังไม่ถือว่าเป็นภาพยนตร์ เนื่องจากว่ามันถ่ายทำด้วยกล้องถ่ายภาพนิ่ง และต้องใช้กล้อง เป็นจำนวนมากตั้งแต่ 12 หรือ 20 หรือบางทีถึง 40 ตัวทีเดียว