♥♥♥Welcome to blogger Miss Wilaiporn Chinapak ♥♥♥

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

August 17 , 2556

Record times 11

Study notes

* วันเสาร์ ที่ 17  August 2556 เป็นวันที่อาจารย์ นัดเรียนชดเฉย
* ดิฉันไม่ได้มาเรียนในวันนี้ เนื่องจากดิฉินต้องกลับไปทำธุระที่บ้านต่างจังหวัด ( งานศพ )
สื่อวิทยาศาสตร์ที่เด็กสามารถได้เอง ซึ่งจัดเข้ามุมเสริมประสบการณ์ สื่อของดิฉันคือ ประทัดกระดาษ


อุปกรณ์ที่ใช้
กระดาษขนาด A4 ( ขนาด 29.7 x 21.0 เซนติเมตร ) หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ก็ได้


วิธีการทดลอง
1. พับกระดาษตามขั้นตอน ดังรูป









2. ในขณะกำลังพับกระดาษ พยายามทำให้ขอบกระดาษเรียบแนบสนิทกัน
3. จับปลายกระดาษตรงบริเวณด้านล่างสุดของวิธีการพับ ด้วยปลายนิ้ว ดังรูป








4. เหวี่ยงกระดาษอย่างแรง โดยไม่ปล่อยมือ จนทำให้ได้ยินเสียงดังคล้ายประทัด






หลักการและเหตุผล

เนื่องจากเสียงในธรรมชาติเกิดจากการสั่นของวัตถุ การเหวี่ยงประทัดกระดาษทำให้เกิดเสียงดังขึ้นได้เพราะว่าการสั่นของกระดาษส่วนหนึ่งที่โผล่ออกมาทันทีขณะที่เรากำลังเหวี่ยงนั้นกระดาษส่วนนี้ได้ไปกระทบกับอากาศอย่างแรงทำให้อากาศมีการสั่น และการสั่นของอากาศนี้เองที่ทำให้หูและส่วนประกอบภายในหูเกิดการได้ยินเสียง
องค์ประกอบของการได้ยินเสียงในธรรมชาติ มี 3 ส่วนด้วยกัน คือ ต้นกำเนิดเสียง ( ในที่นี้ คือ กระดาษส่วนที่กระทบอากาศอย่างแรง ) , ตัวกลาง ( ในที่นี้ คือ อากาศ ) และประสาทรับเสียง ( ในที่นี้ คือ หูและส่วนประกอบภายในหู )
ในกรณีเดียวกัน การที่เราได้ยินเสียงประทัดที่จุดขึ้นในงานประเพณีมีเสียงดังได้นั้น เนื่องจากประทัดระเบิด ทำให้อากาศโดยรอบสั่นอย่างรุนแรง เราจึงได้ยินเสียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น