♥♥♥Welcome to blogger Miss Wilaiporn Chinapak ♥♥♥

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

August 26 , 2556

Record times 13

Study notes


สรุปงานวิจัย

เรื่องการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ


ของ  เอราวรรณ ศรีจักร



ความมุ่งหมายของการวิจัย

                ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ดังนี้
                1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจําแนก รายทักษะ หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ 
                2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ 

ความสําคญของการวิจัย
 
               ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสําหรับเด็กปฐมวัยใช้เป็นแนวทางในการใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย และเป็นแนวทางสําหรับครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อที่เป็นแบบฝกทักษะหรือสื่ออื่นๆ แก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุด ประสงค์ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ 

ขอบเขตของการวิจัย
               ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ประชากร
               ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปีซึ่ง
กําลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร
เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานครเขตพื้นที่การศึกษา 2 
กลุ่มตัวอย่าง
              กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลศกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร
เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับ
สลากเลือกจํานวน 1 ห้องเรียน จากจํานวน 2 ห้องเรียนและผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลอง
จํานวน 15 คน

ระยะเวลาในการทดลอง
              การศึกษาครั้งนี้ ทําการทดลองในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2550 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาท

ตัวแปรที่ศึกษา
              1. ตัวแปรอิสระ
              กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
              2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ              2.1 การสังเกต
              2.2 การจําแนกประเภท
              2.3 การสื่อสาร

              2.4 การลงความเห็น


นิยามศัพท์เฉพาะ
             
              1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย - หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปีซึ่งกําลังศึกษาอยู่ระดับอนุบาลศึกษา
              2. การพัฒนา หมายถึง ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทักษากระบวน การวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งประเมินโดยแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
              3. ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวยั หมายถึง ความสามารถของเด็กปฐมวัยในการใชความคิดการค้นหาความรู้เพื่อหาคําตอบที่เป็นองค์ความรู้ได้ในการวิจัยนี้จําแนกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
             3.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวกาย เขาไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือ 
เหตุการณ์แล้วเด็กสามารถบอกลักษณะหรือความแตกต่างของสิ่งนั้นได้
             3.2 การจําแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทอย่างใดอย่างหนึ่งได้แก่ ความเหมือน ความแตกต่างและความสัมพันธ์
             3.3 การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการบอกขอความหรือเล่าให้ฟังถึงสิ่งที่ค้นพบจากการสังเกต การทดลองเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง
             3.4 การลงความเห็น หมายถึง ความสามารถในการอธิบายหรือสรุปความเห็นสิ่งที่ค้นพบหรืออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหรือที่ได้จากประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับการใช้เหตุผล
             4. กิจกรรมการเรียนรู้หมายถึงงานการเรียนสําหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อให้เด็กได้ปฏิบัติการการเรียนรู้โดยจัดลําดับสาระตามชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ของ รศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ ที่นํามาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้เด็กได้ลงมือกระทําได้รับประโยชน์จริง ดังนี้


              ขั้นนํา เป็นขั้นการเตรียมเด็กเข้าสู่กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วยกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเรื่องที่จะเรียน 
             ขั้นสอน แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 จัดกิจกรรมให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน และตอนที่ 2 ทําชุดแบบฝึกทักษะตามมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน
             ขั้นสรุป เด็กร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่เด็กได้รับจากการเรียนเรื่องนั้นๆ
             5. ชุดแบบฝึกทักษะ หมายถึง แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยเน้นการใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ (Brain - Based Learning) สําหรับเด็กปฐมวัยที่ออกแบบโดย ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ 
จํานวน 4 เรื่อง คือ การสังเกต พืช สัตว์และโลกของเรา


สรุปผลการศึกษาค้นคว้า

             1. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวม หลังการใช้กิจกรรม

การเรียนรประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมากและจําแนกรายทักษะอยู่ในระดับดีมาก 3 ทักษะ 
คือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเหน็ และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือ 


ทักษะการจําแนกประเภท

            2. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้
ประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมี
นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 



















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น